น่ารัก

Nok-Weed : )

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 6

ครั้งที่ 6
26 กรกฎาคม 2554
ลักษณะของเด็กปฐมวัย




ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดในรูแแบบกิจกรรมให้กับเด็ก

ทักษะการสังเกต => การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกัน ได้แก่
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยให้สัมผัสกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ โดยมัจุดประสงค์
และเป้าหมาย
ทักษะการจำแนกประเภท => การแยกแยะ การจำแนก ต้องมีเกณฑ์ในการจำแนก แล้วนำมาเปรียบ
เทียบ ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของ เช่น ความเหมือน
ความสัมพันธ์ร่วม ความแตกต่าง
ทักษะการวัด => การหารปริมาณโดยมรเครื่องมือเป็นตัวบ่งชี้ หรือ ใช้เครื่องมือต่างๆวัดเพื่อหาค่า
ปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยวัดกำกับ
1. รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
2. การเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้
3. วิธีการที่เราจะวัด
ทักษะการสื่อสารู้ร = > การพูด การเขียน รูปภาพ และ ภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับรู้ข้อมูลได้ถูกต้องชัดเจน
1.บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
2.บันทึกการเปลี่ยนแปลง
3.บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จากกระทำ
4.จัดทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ลงความคิดเห็นจากข้อมูล => การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา => การเรียนรู้ 1 2 3 มิติ เข้าใจภาพที่บนกระจกเป็นทิศทางตรงกันข้าม (มุมมอง)
การหาความสัมพันธ์ระสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
1. บ่งชี้ภาพ 2 และ 3 มิติ
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
ทักษะการคำนวน => ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวกลบ คูณ หาร การนับตัวเลข บอกลักษณะต่างๆ เช่น ความก้าว ความยาว
1. การนับจำนวนของวัตถุ
2. การ บวก ลบ คูณ หาร
3. การนับจำนวนตัวเลข มากำหนด หรือ บอกลักษณะของวัตถุ

ครั้งที่5


ครั้งที่ 5
วันที่ 19 กรกฎาคม 2554

มีการนำเสนองาน สำหรับกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอในอาทิตย์ที่แล้ว และ อาจารย์ได้แนะนำเรื่องของการนำเสนองาน Map ของ ข้อความรู้




อาจารย์ได้จะจัดโครงการ ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. เดินรณรงค์ โดยร้องเพลง ลด ละ เลิกสิ่งเสพ โดยมีเนื้อเพลงว่า
มา มา มา พวกเรามาลด เลิก เล่า เบียร์ (ซ้ำ)
บุหรี และ สิ่งเสพติด (ซ้ำ) เพื่อตัวเราและเพื่อในหลวง

2. เขียนไปรษณียบัตรแล้วส่งไปให้คนที่เรารู้จัก



ผลงานของฉัน

3. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติด กลุ่มของข้าพเจ้าทำเรื่อง "สิ่งเสพติดที่มีโทษต่อปอด"




****กิจกรรมรณรงค์จัดขึ้นในวัน พุธที่ 20 กรกฎาคม 2554****

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่4

ครั้งที่ 4
วันที่ 14 กรกฎาคม 2554

วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนองานกลุ่ม กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอเรื่อง "จิตวิทยาการเรียนรู้" และ
"กิจกกรมขวกเป่าลูกโป่ง"

กิจกรรมขวดเป่าลูกโป่ง

อุปกรณ์
ลูกโป่ง 1 ลูก
ผงฟู 5 ช้อนโต๊ะ
ขวดน้ำ 1 ขวด
น้ำส้มสายชู 1 ขวด

ขั้นตอนการทำ
1. เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
2. ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
3. เติมน้ำส้มสายชูลงไป
4. ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

เพราะอะไรกันนะ
มื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศจึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้ เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3
วันที่ 5 กรกฎาคม 2554

วิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการคิดที่ต้องอาศัยกระบวนการทางสติปัญญา ความคิด และ ประสบการณ์เดิม ของบุคคลมาประกอบกัน เพื่อแก้ปัญหาที่ประสบในสถานการณ์ที่กำหนดมาให้
ซึ่งวัดได้จากระบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

สื่อ คือ สื่อคือตัวกลางเพื่อเป็นการสื่อสารระหว่างผู้สอน กับ นักเรียน หรือ เป็นตัวกลางในการเรียนการสอน